การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย QS เป็นการตีพิมพ์ประจำปีของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Quacquarelli Symonds ระบบ QS ประกอบด้วยสามส่วน: การจัดอันดับโดยรวมทั่วโลก การจัดอันดับหัวเรื่อง และห้าตารางระดับภูมิภาคที่เป็นอิสระ ได้แก่ เอเชีย ละตินอเมริกา ยุโรปเกิดใหม่และเอเชียกลาง ภูมิภาคอาหรับ และ BRICS
QS World University Rankings (QS) การจัดอันดับสถาบันการศึกษาทั่วโลกโดย Quacquarelli Symonds เป็นการจัดอันดับเดียวที่ได้รับการยอมรับจาก International Ranking Expert Group (IREG) (“QS World University Rankings,” 2021) QS ใช้เมทริกซ์ทั้งหมด 6 ตัวในการคำนวณเพื่อจัดอันดับสถาบันการศึกษาทั่วโลก เมทริกซ์ทั้ง 6 ตัว (QS World University Rankings – Methodology, 2021) ได้แก่
เมทริกซ์ตัวนี้เป็นผลจากการสำรวจ Academic Survey ซึ่งเก็บข้อมูลและความคิดเห็นจาผู้เชี่ยวชาญกว่า 100,000 คน หลักสำคัญของแบบสำรวจคือสอบถามเกี่ยวกับชื่อเสียงของสถาบันการศึกษาด้านคุณภาพการสอนและการวิจัย
QS ส่งแบบสำรวจที่ชื่อว่า QS Employer Survey ไปยัง บริษัท นายจ้างหรือผู้ว่าจ้างกว่า 50,000 ราย เพื่อโหวตว่าบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยใดที่มีความสามารถเพียงพอ มีความคิดริเริ่มและมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัดนี้สะท้อนให้เห็นว่าสถาบันการศึกษามีศักยภาพเพียงใดในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาสู่ตลาดงาน
QS ใช้ตัวชี้วัดสัดส่วนระหว่างอาจารย์และนักศึกษา เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของการสอน เพื่อประเมินว่าสถาบันการศึกษามีบุคลากรทางการศึกษาเพียงพอต่อจำนวนนักศึกษาหรือไม่
การสอนถือเป็นภารกิจหลักหนึ่งของสถาบันการศึกษา อีกภารกิจหนึ่งคือการทำวิจัย QS วัดคุณภาพของงานวิจัยด้วยจำนวนอ้างอิงต่ออาจารย์ คำนวณด้วยผลรวมจำนวนอ้างอิงที่ได้รับทั้งหมดของสถาบันการศึกษานั้นหารด้วยจำนวนอาจารย์ของสถาบัน QS วิเคราะห์ข้อมูลรายการอ้างอิงจากฐานข้อมูล Scopus ของ Elsevier QS รายการอ้างอิงกว่า 81 ล้านรายการ จากบทความกว่า 13.9 ล้านบทความ (ไม่นับรวม self-citations) QS คำนวณจากจำนวนผลงานตีพิมพ์ในช่วง 5 ปีของสถาบัน (เช่น จำนวนผลงานที่ตีพิมพ์ระหว่าง 2015 – 2019 เป็นต้น) แต่นับจำนวนรายการอ้างอิงที่ได้รับของผลงานตีพิมพ์ช่วง 6 ปี (เช่น จำนวนรวมของรายการอ้างอิงที่ผลงานเหล่านั้นได้รับในช่วงระหว่าง 2015 – 2020 เป็นต้น)
ที่มา: https://www.thailibrary.in.th/2021/09/30/qs-world-university-rankings/